Thursday, December 3, 2015

สรุปการสังเคราะห์ผลสัมมนา ธรรมาภิบาลภาคเอกชน ปธพ.รุ่นที่ 4



           วันที่ 27 พ.ย.58  ผู้เขียนไป นำสัมมนา "ธรรมาภิบาลภาคเอกชน " หลักสูตร ปธพ. รุ่นที่ 4  สถาบันพระปกเกล้า
            นศ.ปธพ. รุ่นที่ 4 กลุ่มพิกุล สรุปการบรรยายนำสัมมนา และ ผู้เขียนนำผลการนำเสนอมา 2 กลุ่มครับ

----  การสรุปบรรยายนำการสัมมนา
อ. ดร.ดนัย เทียนพุฒ
หัวข้อ: การสัมมนาหมวดวิชาที่ 3: ธรรมาภิบาลภาคเอกชน
ธรรมาภิบาล = ธรรม + อภิบาล = วิธีการที่ดีในการให้อำนาจ เพื่อ บริหารจัดการทรัพยากรขององค์กร
ที่สถาบันพระปกเกล้าสร้างขึ้น มีต้นกำเนิดมาจากทศพิธราชธรรม
ในส่วนของบริษัทเอกชน อาจใช้คำว่า Corporate governance = การบริหารจัดการที่ดี

การสัมมนาหมวดวิชานี้ทำเป็นวิธีการ 3 ขั้น
1) คิดวิเคราะห์: แนวคิดและองค์ประกอบของธรรมาภิบาล (หลักความคุ้มค่า, หลักความโปร่งใส, หลักนิติธรรม, หลักจริยธรรม, หลักการมีส่วนร่วม, หลักสำนึกรับผิดชอบ
2) คิดรอบคอบ: คิดในกลุ่มย่อย
3) สังเคราะห์: การใช้ CBL approach
มีตัวอย่าง 2 แบบ 1) ตัวอย่างจากพี่ปธพ. รุ่นที่ 1, 2) SCG model ซึ่งใช้ challenge-based learning (CBL) และ Steve Jobs ใช้แนวทางของ CBL เพื่อมาพัฒนางานการศึกษาที่มีแนวโน้มจะแพ้จีนและประเทศอื่นๆ
อ.ดร. ดนัย ก็ได้นำไปใช้กับมหาวิทยาลัย St. John และ มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์

โดยทั่วไป ภาคเอกชนจะรับผิดชอบแต่ตัวเอง แต่เมื่อเป็นบริษัทมหาชนก็จะต้องทำเพื่อสังคมด้วย
เช่นธุรกิจ Banking และ Finance จะมีกรรมการมาควบคุมเข้มงวด (เพราะใช้เงินคนอื่น) หรือบริษัท Google บริจาคเงินให้ไต้หวัน 10 million USD มอบให้มูลนิธิฉือจี้ Tzu Chi Foundation ซึ่งเป็นมูลนิธิที่เข้าไปได้ในทุกองค์กรและศาสนา โดยการใช้หลักพรหมวิหาร 4 เป็นหลักธรรมมา 4-5 ทศวรรษ

ในส่วนของกลุ่มประเทศ OECD (Organisation for Economic Co-operation and Development) แนวทางการกำกับดูแลกิจการที่ดีจะเน้น 1) การสร้างมูลค่าเพิ่มอย่างยั่งยืน 2) มีความรับผิดชอบ 3) มีความโปร่งใส 4) มีสำนึกที่ดีต่อสังคมและสิ่งแวดล้อม 5) มีความยุติธรรม 6) รับผิดชอบและเชื่อถือได้ต่อการปฏิบัติหน้าที่

ปัจจุบันมีการเปลี่ยน CSR 1.0 ที่เน้นการตลาดเพื่อ PR องค์กรอย่างเดียวซึ่งไม่มีความยั่งยืน เลยพัฒนาเป็น Corporate Sustainability  Responsibility 2.0 (CSR 2.0) ที่เพิ่มมิติทางสังคม การสร้างคุณค่า การมีธรรมาภิบาล การทำหน่วยอาสาและพัฒนาชุมชน ห่วงใยเรื่องสิ่งแวดล้อม ที่ทำให้มีความยั่งยืนมากกว่า


















ดร.ดนัย เทียนพุฒ 
นักวิชาการผู้ทรงคุณวุฒิและที่ปรึกษาธุรกิจอิสระ
กรรมการบริหารหลักสูตรประกาศนียบัตรธรรมาภิบาลผู้บริหารระดับกลาง
สถาบันพระปกเกล้า
โทร 0818338505  
email: drdanait@gmail.com
         Line ID: thailand081       

Saturday, November 28, 2015

สัมมนาธรรมาภิบาลภาคเอกชน หลักสูตร ปธพ. 4 สถาบันพระปกเกล้า







ดร.ดนัย เทียนพุฒ 
นักวิชาการผู้ทรงคุณวุฒิและที่ปรึกษาธุรกิจอิสระ
กรรมการบริหารหลักสูตรประกาศนียบัตรธรรมาภิบาลผู้บริหารระดับกลาง
สถาบันพระปกเกล้า
โทร 0818338505  
email: drdanait@gmail.com
         Line ID: thailand081       

Friday, November 6, 2015

อดีตสอนบทเรียนอะไรด้านความเป็นผู้นำ

                        โลกทีมีนัยสำคัญคือโลกที่มีชีวิตชีวา  สิ่งที่ต้องทำคือ นำชีวิตมาสู่โลก และหนทางเดียวที่จะทำได้ก็โดยการค้นหาเรื่องราวในตัวของเราเองว่า 
                      ..ขีวิตของเราอยู่ที่ไหน  และทำให้ตัวเรามีชีวิตชีวา

  
                       คนที่เต็มเปี่ยมไปด้วยความกระตือรือร้น นั้นก่อให้เกิดพลังในตัวเองอย่างไม่ต้องสงสัย แล้วใช้พลังในตัวนั้น ฆ่า อีโก้ หรือ อัตตา  
                        และคนที่มาช่วยเหลือ คือ คนที่มาแนะให้ท่านเห็นหนทางสู่ความจริง


                        เมื่อคนเราเข้าสู่ช่วงชีวิตของการทำงาน การเลือกอาชีพของเรา คือ การเลือกโมเดลรูปแบบหนึ่ง

                         ในขณะที่ชีวิตความเป็นอยู่ของเราได้สร้างรูปลักษณ์ให้ตัวเรา


                   ภารกิจสุดท้าย  ท่านจะต้องทำด้วยตัวเองในการค้นพบหนทาง
   ของตัวท่านนั่นคือ ...ความเป็นผู้นำ  หรือ วีรบุรุษ จึงอยู่ในตัวเรา

                         อริสโตเติลเตือน อเล็กซานเดอร์ ไว้ว่า สิ่งสำคัญสำหรับผู้นำคือ การเอาชนะตนเองยิ่งกว่าการเอาชนะผู้อื่น 
                         โสคราตีส ชี้แนะ ซีโนฟอน ว่า เมื่อถึงเวลาที่เลือกผู้นำ ผู้คนมักจะมองหาคนที่อึกอักลังเลมากที่สุด มิใช่คนที่กระเหี้ยนกระหือ ที่จะได้ตำแหน่ง
              
อ้างจาก  
   1.Campbell,J.(1993). The Hero with a Thousand Faces.
   2.Campbell,J. & Moyers.(2008). The Power of Myth. แปลโดย บารมี บุญทรง.(2551). พลานุภาพแห่ง
          เทพปกรณัม.


 
 
ดร.ดนัย เทียนพุฒ
นักวิชาการผู้ทรงคุณวุฒิและที่ปรึกษาธุรกิจอิสระ
กรรมการบริหารหลักสูตรประกาศนียบัตรธรรมาภิบาลผู้บริหารระดับกลาง
สถาบันพระปกเกล้า
โทร 0818338505  
email: drdanait@gmail.com
Line ID: thailand081
 

Sunday, May 3, 2015

การสิ้นสุดของทฤษฎีความเป็นผู้นำในศตวรรษที่ 21


          ในการบรรยายให้ กับ นศ.ป.เอก รุ่นที่ 11 วิชา ภาวะผู้นำเชิงกลยุทธ ฯ  วันที่ 9 พ.ค.58  สำหรับ โมดูลที่ 4  ว่าด้วยเรื่อง การสิ้นสุดของทฤษฎีความเป็นผู้นำในศตวรรษที่ 21  และผู้เขียน
           เปิดฉาก ..... การเริ่มต้นบทใหม่ของความเป็นผู้นำในยุคดิจิตอล อ่านสไลด์ ได้ครับ

         





ดร.ดนัย เทียนพุฒ
นักวิชาการผู้ทรงคุณวุฒิและที่ปรึกษาธุรกิจ
กรรมการบริหารหลักสูตรประกาศนียบัตรธรรมาภิบาลผู้บริหารระดับกลาง
สถาบันพระปกเกล้า
โทร 0818338505  
email: drdanait@gmail.com
Line ID: thailand081



ผู้นำที่ยิ่งใหญ่รู้ว่าถามอย่างไรจึงถูกต้อง



             ในการสอน/[บรรยายวิชา "ผู้นำเชิงกลยุทธ (Strategic leadership)  โดยปกติผู้เขียน จะนำไปสู่การสนทนาในชั้น หรือ ห้องสมัมนา อยู่ 3  เรื่องหลัก ๆ ด้วยกัน
             อย่างแรก คือ  ปรัชญาแห่งความเป้นผู้นำ ( A Philosophy of Leadership) พูดให้เข้าใจง่าย ๆ การมีหลักนำทางชีวิตของผู้นำ และการฝึกฝนตนเองให้ มีความแตกต่างและโดดเด่นเหนือคนอื่น
             ต่อมา  จะเปิดฉากในเรื่อง ของ "การสิ้นสุดของทฤษฎีของผู้นำ (The End of Leadership Theory)" แบบดั่งเดิม หรือ ปัจจุบัน เรียกว่าเป็นความท้าทายอย่างยิ่งที่จะพูดในเรื่องดังกล่าว
             -เราพบว่า ผู้นำที่ประสบความสำเร็จในธุรกิจและองค์กรต่าง ๆ  ไม่ได้ยึดติด ทฤษฎีใด หรือหลักการใด  แต่ เขาจะใช้ หลักการใดก็ได้ ในการรำธุรกิจให้ไปสู่ชัยชนะในการแข่งขัน  หรือการเติบโตอย่างต่อเนื่องและยั่งยืน
              -การเอาทฤษฎี ไปไล่จับ โดยการศึกษาว่า  ผู้นำองค์กรแต่ละคน ใช้ทฤษฎี อะไรของตะวันตก จึงมักได้แต่คำตอบว่า  "ใช้ทฤษฎี แบบ Transformative Leadership" ฯลฯ
              ในความเป็นจริงอาจตอบไม่ได้ว่า  ผู้นำองค์กรเหล่านั้น ใช้ทฤษฎีอะไร แบบ ทั้งดุ้น หรือ ทั้งทฤษฎี 
              ผู้เขียนจึงเห็นว่า สิ่งนี้เป็นความท้าท้าทาย  และเป็นการเปิดบทใหม่ของการเรียนรู้  "ความเป็นผู้นำแบบใหม่่" หรือ "The new chapter of leadership learning"    
              และผู้เขียนมักสนับสนุนให้ นศ. ป.เอก ได้ลองสร้างถามใหม่เพื่อการศึกษา ความเป็นผู้นำ ด้วยวิธีการแบบ "Grounded Theory"  ว่า  "เรามีทฤษฎีความเป็นผู้นำของเราเองไหม"
              และทั้งหมดนี้ ทำให้ผู้เขียน มุ่งความสนใจ เกี่ยวกับความเป็นผู้นำในเรื่อง
            1) วิสัยทัศน์แห่งผู้นำเชิงกลยุทธ (Strategic Visionary Leader) 
               คือ เรื่องราว ของ Strategic Vision และ  Visionary Leadership  ในรายละเอียดของ การคิดเชิงกลยุทธ  การสร้างวิสัยทัศน์ และ วิสัยทัศน์ของผู้นำ หรือ CEO
            2) วิสัยทัศน์ของผู้นำการเปลี่ยนแปลง (Strategic Change Leader)   
               เป็นเรื่องราวของการปรับเปลี่ยนองค์กร  " Corporate Transformation" ไม่ใช่แค่เรื่อง OD (organizational Development) ก็กลับไปที่เราปรับเปลี่ยนอะไรธุรกิจ 
               -เปลี่ยนวิสัยทัศน์และกลยุทธใหม่
               -ปรับโมเดลธุรกิจ
               -ปรับกระบวนการธุรกิจ
               -ปรับการจัดการคนในองค์กร
              3) วิสัยทัศน์ของผู้ประกอบการและนวัตกรรม (Strategic Innovative & Entrepreneur)      
              ผู้นำที่ประสบความสำเร็จ ต้องมีนวัตกรรมและสัญชาตญาณของผู้ประกอบการ   
           
            แค่นี้เวลาก็แทบจะไม่พอสอนใน 1 เทอมการศึกษา หากต้องการเปิดโลกทัศน์ใหม่ทางความเป็นผู้นำ
           แล้วทฤษฎีผู้นำเก่า ๆ หรือ ที่พูดถึงกันในปัจจุบันผู้เขียนไม่สนใจเลยหรือ  ก็สนใจครับ
            แต่ผู้เขียน สนใจ สิ่งที่จะข้ามองค์ความรู้จากศาสตร์อื่นและบทเรียนที่เป็นเลิศ เช่น
           - The Hero's Journey 
           - Good governance 
            -Woman's Leadership
            -Best Practices
            - etc
         ปัจจุบัน กลับพบว่า   "ผู้นำที่ยิ่งใหญ่รู้ว่าถามอย่างไรจึงถูกต้อง"  (How great leaders know the right question to ask)
       ....  ปัญหาส่วนใหญ่ คือ คนเรามักจะถามด้วยคำถามไม่ถูกต้อง หรือถามในสิ่งที่ไม่น่าถาม 
       .... ไม่อ่านมาก่อนถาม หรือ ไม่ได้แสดงให้เห็นว่า ได้พยายามจนถึงที่สุดแล้วจึงถาม
        ....หรือเป็นเพียงใส่แต่ "อะไร ทำไม  อย่างไร ที่ไหน เมื่อไร" เข้าไปในประโยคหรือข้อความ ก็ถือว่าได้ถามแล้ว
         ปีเตอร์ ดรักเกอร์ ปรมาจารย์ด้านการคิดค้นการจัดการ  เคยพูดไว้ว่า 
          "งานที่สำคัญและยากนั้นไม่ใช่การค้นหาคำตอบที่ถูกต้อง แต่คือการถามคำถามที่ถูกต้อง"
         Hal Gregersen ศาสตราจารย์ ด้านนวัตกรรมและความเป็นผู้นำที่ International business school INSEAD (Schachter, H: 2014. "How great leaders know the right questions to ask" available http://www.theglobalandmail.com) ได้ศึกษาเกี่ยวกับผู้นำมาตลอดทศวรรษมีข้อสรุปไม่ต่างกัน ว่า ..สุดยอดนักนวัตกรรม มีความกระหายอย่างลุ่มลึกเกี่ยวกับโลก เขาไม่ยอมรับวิธีที่สิ่งต่าง ๆ เป็นอยู่ เขาพิสูจน์ด้วยการถามคำถามที่จะนำเขาไปสู่คำตอบใหม่

         ผู้บริหารโดยทั่วไปเมื่อกระบวนการทำงานติดขัด บ่อยครั้งเกิดจากไม่สามารถถามคำถามที่ถูกต้อง เพราะมุ่งไปที่งาน แต่ไม่ได้หาจริง ๆ ว่า พวกเขาไม่รู้อะไร
         แต่ผู้นำที่ยิ่งใหญ่ เข้าใจประเด็น จึงถามคำถามที่ถูกต้อง (แต่ไม่ได้อภิปรายประเด็นดังกล่าว)
         คำถามจึงเป็นเหมือนกุญแจที่ปลดล็อกประตูที่ถูกประตู

         รูปแบบคำถาม มี กี่ประเภท
            
          แบบเปิด  ไม่ต้องการคำตอบที่เฉพาะแต่ต้องการการอภิปราย
          แบบปิด  ต้องการคำตอบ ถูก ผิด และรายละเอียดที่เหมาะสม
         เผิชญ-ค้นหา  ต้องการข้อมูล หรือ เนื้อหาโดยเฉพาะ
         ติดตาม   ต้องการสารสนเทศหรือ ล้วงความคิดเห็น
         ข้อมูลย้อนกลับ  ต้องการข้อมูลที่เฉพาะ

        แล้วผู้นำจะใช้คำถามที่มีประสิทธิภาพได้อย่างไร

         คำถาม  ที่มีประสิทธิภาพ คือ คำถามปลายเปิด และไม่ใช่คำถามนำ 

         .......ท่านคิดอะไรเกี่ยวกับปัญหานี้

        ไม่ใช้คำถามทำไม  แต่ก็ดีกว่า คำถามว่า อะไร  หรือ อย่างไร
        คำถาม ทำไม เหมาะกับการดึงข้อมูล แต่อาจทำให้คนเราปกป้องตนเอง  ดังนั้นก่อนการใช้ควรคิดสักนิด

         เมื่อถามคำถามที่มีประสิทธิภาพ  เรารอคำตอบแต่ไม่ใช่ให้คำตอบ 

         คำถามที่มีพลัง
       1. วิเคราะห์ประเด็น 
          ใช้สัมภาษณ์ลุกค้า   ประชุม วางแนวทางการทำงาน  เช่น
          -มีอะไรทำให้รู้สึกว่าจะเกิดปัญหา
         - อะไรที่คุณจะทำ
         -ท่านรู้สึกอย่างไรเกี่ยวกับ.......
         - อะไรคือสิ่งที่ท่านกังวลมากที่สุด   
         -อะไรที่ท่านคิดจะทำ ......ด้วยวิธีนี้

       2. เพิ่มเติมสารสนเทศ

          คำถามแบบนี้สามารถใช้เพื่อค้นหาขัอมูล หรือ อะไรที่ได้ทำเสร็จแล้วเพื่อการปรับปรุงแก้ไข

        -วิธีการนี้หมายความว่าอย่างไร
        -ช่วยบอกให้มากขึ้นเกี่ยวกับเรื่องนี้ได้ไหม 
        -มีอะไรอีกบ้าง
        -มีวิธีการอื่นอีกไหมที่ท่านได้พยายามทำ
        -ท่านจะทำอย่างไรเพื่อให้งานสำเร็จ
     
       3. ถามเพื่อให้ได้ผลได้ (Outcomes) 
         เป็นการถามเพื่อต่อรอง   ถามถึงการทำงานกับพนักงานเพื่อการวางแผนว่าจะทำอะไร
         -ท่านต้องการที่จะเปลี่ยน.......เพื่อเผยให้เห็น
         -ท่านต้องการอะไร
         -ท่านต้องการผลได้อย่างไร
         -ประโยชน์เพิ่มอะไรที่ท่านต้องการได้จาก .....นาย ก.
         -ท่านมีจุดประสงค์อะไร
         -ท่านมีแผนอะไร
         -ถ้าท่านทำสิ่งนี้  มันจะมีผลอย่างไร
         -มีอะไรอีกบ้างที่ท่านต้องให้การพิจารณา
 และ  4. ถามเพื่อการลงมือทำ  (Taking action)
         ใช้ถามเพื่อการทำงาน
          -ท่านจะทำอะไร  และจะทำเมื่อไหร่
          -ผมจะรู้ได้อย่างไรถึงสิ่งที่คุณทำ
          -ขั้นต่อไปจะเป็นอย่างไร
       

     สำหรับผู้นำแล้ว  ความท้าทายคือ การค้นหากุญแจ (คำถามที่ถูกต้อง) เพื่อปลดล็อกที่ถูกประตู  

           

ดร.ดนัย เทียนพุฒ
นักวิชาการผู้ทรงคุณวุฒิและที่ปรึกษาธุรกิจ
กรรมการบริหารหลักสูตรประกาศนียบัตรธรรมาภิบาลผู้บริหารระดับกลาง
สถาบันพระปกเกล้า
โทร 0818338505  
email: drdanait@gmail.com
Line ID: thailand081