Wednesday, February 3, 2016

ผู้นำแบบใดที่จะส่งเข้าไปแข่งขันในอนาคต


           
                  การบริหารองค์กรในปัจจุบัน ยอมรับกันว่า ความสำเร็จส่วนใหญ่มาจาก CEO หรือ ผู้นำสูงสุดขององค์กร
                 เมื่อองค์กร หรือธุรกิจดำเนินมาระยะหนึ่ง สิ่งที่ผู้นำหรือ CEO ได้ทำไว้ เมื่อถึงเวลาวางมีือก็อยากได้คนที่เชื่อใจ ไว้ใจ  มีความสามารถให้ขึ้นมาสานต่อองค์กร ตามทิศทางที่กำหนดไว้ใน วิสัยทัศน์ และภารกิจขององค์กร  นั่นเป็นสิ่งปกติขององค์กรธุรกิจ
                แต่ในขณะที่องค์กรภาครัฐ อาจไม่เป็นเช่นนั้น เช่นองค์กร รัฐวิสาหกิจ  องค์การมหาชน  สถาบันหรือหน่วยงานอิสระ เพราะเป็นการสรรหา หรือ รับสมัครผู้ที่เหมาะสมเข้ามารับผิดชอบ

                ประเด็นของเรื่องก็คือ  เราต้องการผู้นำสูงสุดขององค์กรนั้นที่มีคุณลักษณะอย่างไร
                ประสบการณ์ในการสอนและศึกษาด้าน คววามเป็นผู้นำและผู้นำ (Leader & Leadership) พบว่า
                 เราต้องการผู้นำ ที่มีวิสัยทัศน์กว้างไกล อาจจะพูดง่าย แต่หายากก็เป็นได้
                คำว่าวิสัยทัศน์กว้างไกล ผู้เขียน หมายถึง การมองเห็นธุรกิจหรือองค์กรในอนาคตที่อยากไปให้ถึงอย่างชัดเจน  เช่น
                 -ลูกค้าในอนาคต จะเปลี่ยนไปในลักษณะอย่างไร  ยังคงมีพฤติกรรมแบบไฮเทคเหมือนปัจจุบัน หรือ ไฮเทคมากขึ้นกว่าเดิม  แล้วเราจะมี ผลิตภัณฑ์และบริการอะไรตอบสนองในอนาคต
                 -คู่แข่งขันในอนาคต จะพัฒนาตัวเองในอัตราเร่งแบบใด แล้วเรายังความเป็นผู้นำตลาดทิ้งคู่แข่งในระยะที่เท่าเดิมอยู่หรือไม่
                 -มีสัญญาณบ่งบอกอะไรไหมว่าจะมีผู้เล่นรายใหม่เข้ามา  ซึ่ง ว่องไวกว่า โดนตลาดมากกว่า
ราคาต่ำกว่า  เราจะจับสัญญาณนั้นได้อย่างไร
                 -การแข่งขัน ยังจะอยู่ในพื้นที่โอกาสเดิม หรือ เปลี่ยนไปสู่พื้นที่แห่งโอกาสใหม่  หรือ เราสามารถเปลี่ยนเกมการแข่งขันใหม่ (Changing the rules of the game)
                 
               เราต้องการ ผู้นำที่สร้างผู้นำรุ่นใหม่  ในความสำเร็จของผู้นำจริง ๆ คือ การสร้างผู้นำรุ่นใหม่ ไม่ใช่ทำอย่างไรให้ตนเองสืบทอดตำแหน่งหรืออำนาจให้ยาวนานที่สุด  แล้วประเด็นอะไรคือการสร้างผู้นำรุ่นใหม่
                -ผู้นำรุ่นใหม่ที่จะสร้าง ต้องไม่ใช้คนใกล้ขิด  คนใช่ครับนาย  คนที่ไม่กล้าโต้แย้งความคิดเจ้านาย  หรือ คนที่นายไว้วางใจ
                แต่ต้องเป็นคนที่ มีแววหรือ ศักยภาพที่จะนำองค์กรไปได้อีก 100 ปี
                คนที่พร้อมจะสร้าง คนเก่งที่เชี่ยวชาญเฉพาะ  ให้มาดำเนินกิจการหรือ แข่งขันได้ตามวิสัยทัศน์สู่อนาคต
               -ผู้นำรุ่นใหม่ที่ เข้าใจหรือเห็นถึง ดีเอ็นเอ (DNA) ขององค์กร แล้วใช้ความสามารถของตน สร้างนวัตกรรมใหม่บนดีเอ็นเอดังกล่าว หรือสร้าง ดีเอ็นเอใหม่ที่จะใช้ในการแข่งขันได้
               -เป็นคนที่สามารถสร้างเครือข่ายได้ทั้งภายในและภายนอกองค์กร จนสามารถสร้างธุรกิจใหม่ได้

             เราต้องการผู้นำที่สามารถ ปรับเปลี่ยนองค์กร (Transformation)  ให้หลุดพ้นจากความเป็นราชการ ความอืดอาจล่าช้า ไม่สามารถแข่งขันได้อบ่างคล่องตัวเมื่อเทียบกับคู่แข่งขัน
             ธุรกิจและองค์กรยุคใหม่ ต้องการวิธีการทำกลยุทธแบบใหม่ ที่"ว่องไว (Agility)" ไม่ใช่วิธีการแบบเดิม ๆ ต้องผู้ที่เข้ามาดูแลคนในรูปแบบใหม่ (Transformative HR)  สิ่งเหล่านี้ เกิดขึ้นแน่นอน
            หากได้ผู้นำที่ หลงติดกับความสำเร็จในอดีต  ผู้นำที่มองเห็นคนรุ่นใหม่จะมาทาบรัศมีตน หรือ อาจจะเก่งกว่า  หรือไม่ยอมเปิดพื้นที่แห่งโอกาสให้แสดงฝีมือ
            ก็เชื่ออย่างมั่นใจได้ว่า ธุรกิจหรือองค์กรแห่งนั้น ..คงจะกลายเป็น ตำนาน หรือ ความสำเร็จแห่งวันวาน ...

 ดร.ดนัย เทียนพุฒ 
นักวิชาการผู้ทรงคุณวุฒิและที่ปรึกษาธุรกิจ
รางวัลนักทรัพยากรมนุษย์ดีเด่นแห่งประเทศไทย ปี 2552  ประเภทนักวิชาการและที่ปรึกษา
กรรมการบริหารหลักสูตรประกาศนียบัตรธรรมาภิบาลสำหรับผู้บริหารระดับกลาง
สถาบันพระปกเกล้า
www.drdanai.blogspot.com
www.facebook.com/Strategy.th
โทร 0818338505  
email: drdanait@gmail.com
          Line ID: thailand081          

Thursday, December 3, 2015

สรุปการสังเคราะห์ผลสัมมนา ธรรมาภิบาลภาคเอกชน ปธพ.รุ่นที่ 4



           วันที่ 27 พ.ย.58  ผู้เขียนไป นำสัมมนา "ธรรมาภิบาลภาคเอกชน " หลักสูตร ปธพ. รุ่นที่ 4  สถาบันพระปกเกล้า
            นศ.ปธพ. รุ่นที่ 4 กลุ่มพิกุล สรุปการบรรยายนำสัมมนา และ ผู้เขียนนำผลการนำเสนอมา 2 กลุ่มครับ

----  การสรุปบรรยายนำการสัมมนา
อ. ดร.ดนัย เทียนพุฒ
หัวข้อ: การสัมมนาหมวดวิชาที่ 3: ธรรมาภิบาลภาคเอกชน
ธรรมาภิบาล = ธรรม + อภิบาล = วิธีการที่ดีในการให้อำนาจ เพื่อ บริหารจัดการทรัพยากรขององค์กร
ที่สถาบันพระปกเกล้าสร้างขึ้น มีต้นกำเนิดมาจากทศพิธราชธรรม
ในส่วนของบริษัทเอกชน อาจใช้คำว่า Corporate governance = การบริหารจัดการที่ดี

การสัมมนาหมวดวิชานี้ทำเป็นวิธีการ 3 ขั้น
1) คิดวิเคราะห์: แนวคิดและองค์ประกอบของธรรมาภิบาล (หลักความคุ้มค่า, หลักความโปร่งใส, หลักนิติธรรม, หลักจริยธรรม, หลักการมีส่วนร่วม, หลักสำนึกรับผิดชอบ
2) คิดรอบคอบ: คิดในกลุ่มย่อย
3) สังเคราะห์: การใช้ CBL approach
มีตัวอย่าง 2 แบบ 1) ตัวอย่างจากพี่ปธพ. รุ่นที่ 1, 2) SCG model ซึ่งใช้ challenge-based learning (CBL) และ Steve Jobs ใช้แนวทางของ CBL เพื่อมาพัฒนางานการศึกษาที่มีแนวโน้มจะแพ้จีนและประเทศอื่นๆ
อ.ดร. ดนัย ก็ได้นำไปใช้กับมหาวิทยาลัย St. John และ มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์

โดยทั่วไป ภาคเอกชนจะรับผิดชอบแต่ตัวเอง แต่เมื่อเป็นบริษัทมหาชนก็จะต้องทำเพื่อสังคมด้วย
เช่นธุรกิจ Banking และ Finance จะมีกรรมการมาควบคุมเข้มงวด (เพราะใช้เงินคนอื่น) หรือบริษัท Google บริจาคเงินให้ไต้หวัน 10 million USD มอบให้มูลนิธิฉือจี้ Tzu Chi Foundation ซึ่งเป็นมูลนิธิที่เข้าไปได้ในทุกองค์กรและศาสนา โดยการใช้หลักพรหมวิหาร 4 เป็นหลักธรรมมา 4-5 ทศวรรษ

ในส่วนของกลุ่มประเทศ OECD (Organisation for Economic Co-operation and Development) แนวทางการกำกับดูแลกิจการที่ดีจะเน้น 1) การสร้างมูลค่าเพิ่มอย่างยั่งยืน 2) มีความรับผิดชอบ 3) มีความโปร่งใส 4) มีสำนึกที่ดีต่อสังคมและสิ่งแวดล้อม 5) มีความยุติธรรม 6) รับผิดชอบและเชื่อถือได้ต่อการปฏิบัติหน้าที่

ปัจจุบันมีการเปลี่ยน CSR 1.0 ที่เน้นการตลาดเพื่อ PR องค์กรอย่างเดียวซึ่งไม่มีความยั่งยืน เลยพัฒนาเป็น Corporate Sustainability  Responsibility 2.0 (CSR 2.0) ที่เพิ่มมิติทางสังคม การสร้างคุณค่า การมีธรรมาภิบาล การทำหน่วยอาสาและพัฒนาชุมชน ห่วงใยเรื่องสิ่งแวดล้อม ที่ทำให้มีความยั่งยืนมากกว่า


















ดร.ดนัย เทียนพุฒ 
นักวิชาการผู้ทรงคุณวุฒิและที่ปรึกษาธุรกิจอิสระ
กรรมการบริหารหลักสูตรประกาศนียบัตรธรรมาภิบาลผู้บริหารระดับกลาง
สถาบันพระปกเกล้า
โทร 0818338505  
email: drdanait@gmail.com
         Line ID: thailand081